สิรินทรา พิมพิลา 305
Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม (Word Class Standard)
วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558
สัปดาห์ที่ 14
สัปดาห์ที่14
ความขัดแย้งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน
1.ความขัดแย้งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึง ปัจจุบัน
ความขัดแย้งและความร่วมมือของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึง ปัจจุบัน
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่
20
โลกเกิดสงครามครั้งใหญ่ถึง
2
ครั้ง คือ สงครามโลกครั้งที่
1
และสงครามโลกครั้งที่
2
ทำให้มนุษย์ต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมหาศาลความพินาศหายนะจากสงคราม ทำให้มนุษย์ได้บทเรียนจากความขัดแย้งต่างๆ และพยายามแสวงหาสันติภาพโดยมีการร่วมมือและประสานประโยชน์กัน เพื่อให้โลกเกิดความมั่นคงและความสงบสุข
สงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่
1
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
(
อังกฤษ
:
World War I
หรือ
First World War
)
หรือที่มักเรียกว่า "
สงครามโลก
"
หรือ "
มหาสงคราม
(Great War)
ก่อน ค.ศ.
1939
เป็น
สงครามใหญ่
ที่มีศูนย์กลางในยุโรประหว่างวันที่
28
กรกฎาคม ค.ศ.
1914
ถึง
11
พฤศจิกายน ค.ศ.
1918
ทุกประเทศ
มหาอำนาจ
ของโลกเกี่ยวพันในสงคราม
ซึ่งแบ่งออกเป็น
ฝ่ายสัมพันธมิตร
(
มีศูนย์กลางอยู่ที่
ไตรภาคี
ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย) และฝ่าย
มหาอำนาจกลาง
(
มีศูนย์กลางอยู่ที่
ไตรพันธมิตร
ได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการีและอิตาลี)
พันธมิตรทั้งสองมีการจัดระเบียบใหม่ และขยายตัวเมื่อมีชาติเข้าสู่สงครามมากขึ้น ท้ายสุด มีทหารกว่า
70
ล้านนาย ซึ่งเป็นทหารยุโรปเสีย
60
ล้านนาย ถูกระดมเข้าสู่สงครามใหญ่ที่สุดสงครามหนึ่งในประวัติศาสตร์นี้
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งยังนับว่าเป็นความขัดแย้งวงกว้างภายในทวีปยุโรปครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่
สงครามนโปเลียน
ทหารผู้เข้าร่วมรบเสียชีวิตเกิน
9
ล้านนาย สาเหตุหลักเพราะความร้ายแรงของพลังทำลายของอาวุธที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เพราะเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยไม่มีพัฒนาการในการคุ้มครองหรือความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ที่สอดคล้องกัน สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นสงครามที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์อันดับที่หก
สงครามนี้เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บและสูญหาย รวมกันไม่ต่ำกว่า
40
ล้านคน และกรุยทางไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลายอย่าง เช่น การปฏิวัติในชาติที่เข้าร่วมรบ
สาเหตุระยะยาวของสงครามรวมถึงนโยบายต่างประเทศแบบ
จักรวรรดินิยม
ของมหาอำนาจยุโรปทั้งหลาย อย่าง
จักรวรรดิเยอรมัน
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
จักรวรรดิออตโตมัน
จักรวรรดิรัสเซีย
จักรวรรดิอังกฤษ
ฝรั่งเศส
และ
อิตาลี
ส่วน
การลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย
รัชทายาทแห่ง
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
เมื่อวันที่
28
มิถุนายน ค.ศ.
1914
โดย
กัฟรีโล ปรินซีป
นักชาตินิยมยูโกสลาฟ เป็นชนวนเหตุใกล้ชิดของสงคราม ออสเตรีย-ฮังการีจึงยื่นคำขาดฮับสบูร์กต่อ
ราชอาณาจักรเซอร์เบีย
พันธมิตรทั้งหลายซึ่งก่อตั้งขึ้นมาเมื่อหลายทศวรรษก่อนถูกดึงเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ มหาอำนาจทั้งหลายจึงอยู่ในภาวะสงคราม และความขัดแย้งลุกลามไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วผ่านอาณานิคมต่าง ๆ
วันที่
28
กรกฎาคม ความขัดแย้งเปิดฉากขึ้นเมื่อออสเตรีย-ฮังการีรุกรานเซอร์เบียตามด้วยการรุกรานเบลเยียม ลักเซมเบิร์กและฝรั่งเศสของเยอรมนี และการโจมตีเยอรมนีของรัสเซีย หลังการบุกโจมตีกรุงปารีสของเยอรมนีถูกหยุด แนวรบด้านตะวันตกก็เป็นการรบแห่งการสูญเสียที่อยู่กับที่ด้วยแนวสนามเพลาะซึ่งเปลี่ยนแปลงน้อยมากกระทั่ง ค.ศ.
1917
ในทางตะวันออก กองทัพรัสเซียสามารถเอาชนะกองทัพออสเตรีย-ฮังการี แต่ถูกกองทัพเยอรมันบีบให้ถอยกลับจากปรัสเซียตะวันออกและโปแลนด์ แนวรบใหม่ ๆ เปิดขึ้นเมื่อจักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่สงครามใน ค.ศ.
1914
อิตาลีและบัลแกเรียใน ค.ศ.
1915
และโรมาเนียใน ค.ศ.
1916
จักรวรรดิรัสเซียล่มสลายใน ค.ศ.
1917
และรัสเซียถอนตัวจากสงครามหลัง
การปฏิวัติเดือนตุลาคม
ในปีเดียวกัน หลังการรุกตามแนวรบด้านตะวันตกของเยอรมนีใน ค.ศ.
1918
กองทัพสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามและกองทัพสัมพันธมิตรสามารถผลักดันกองทัพเยอรมันกลับไปหลังได้รับชัยชนะติดต่อกันหลายครั้ง เยอรมนี ซึ่งประสบปัญหากับนักปฏิวัติถึงขณะนี้ ได้ตกลงหยุดยิงเมื่อวันที่
11
พฤศจิกายน ค.ศ.
1918
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ
วันสงบศึก
และชัยชนะตกเป็นของฝ่ายสัมพันธมิตร
เมื่อสงครามยุติ รัฐจักรวรรดิใหญ่สี่รัฐ อันได้แก่ จักรวรดิเยอรมัน ออสเตรีย-ฮังการี รัสเซียและออตโตมัน พ่ายแพ้ทั้งทางการเมืองและทางทหารและได้สิ้นสภาพไป เยอรมนีและรัสเซียสูญเสียดินแดนไปมหาศาล ส่วนอีกสองรัฐที่เหลือนั้นล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิง แผนที่ยุโรปกลางได้ถูกเขียนใหม่โดยมีประเทศขนาดเล็กเกิดใหม่หลายประเทศ
สันนิบาตชาติ
ถูกก่อตั้งขึ้นด้วยหวังว่าจะป้องกันความขัดแย้งเช่นนี้มิให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต ลัทธิชาตินิยมยุโรปเกิดขึ้นหลังสงครามและการล่มสลายของจักรวรรดิทั้งหลาย ผลสะท้อนจากความพ่ายแพ้ของเยอรมนีและปัญหากับ
สนธิสัญญาแวร์ซาย
ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นปัจจัยซึ่งนำไปสู่การปะทุของ
สงครามโลกครั้งที่สอง
สงครามโลกครั้งที่ 2
สงครามโลกครั้งที่
2
สงครามโลกครั้งที่สอง
(
อังกฤษ
:
World War II
หรือ
Second World War
;
มักย่อว่า
WWII
หรือ
WW2)
เป็น
ความขัดแย้งทางทหาร
ในระดับโลกตั้งแต่ ค.ศ.
1939
ถึง
1945
ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเทศส่วนใหญ่ในโลก รวมทั้ง
รัฐมหาอำนาจ
ทั้งหมด ประเทศผู้ร่วมสงครามรวมตัวกันเป็นพันธมิตรทางทหารสองฝ่ายคู่สงคราม คือ
ฝ่ายสัมพันธมิตร
และ
ฝ่ายอักษะ
ระหว่างสงครามมีการระดมทหารมากกว่า
100
ล้านนาย ด้วยลักษณะของ "
สงครามเบ็ดเสร็จ
"
ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักได้ทุ่มเทขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์เพื่อความพยายามของสงครามทั้งหมด โดยไม่เลือกว่าทรัพยากรนั้นจะเป็นของพลเรือนหรือทหาร ประมาณกันว่าสงครามมีมูลค่าราว
1
ล้านล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ
ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุดและนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง
40
ถึงมากกว่า
70
ล้านคน
โดยทั่วไปมักถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่
การรุกรานโปแลนด์
ของ
เยอรมนี
ในวันที่
1
กันยายน ค.ศ.
1939
อันนำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของ
ฝรั่งเศส
และประเทศส่วนใหญ่ใน
จักรวรรดิอังกฤษ
และ
เครือจักรภพ
ภายในหนึ่งปี เยอรมนีก็มีชัยเหนือยุโรปตะวันตกเกือบทั้งหมด คงเหลือเพียงสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพที่ยังเป็นกำลังหลักที่ยังต่อกรกับเยอรมนีทั้งที่
เกาะบริเตน
แอฟริกาเหนือ และกลางแอตแลนติกอย่างยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.
1941
ฝ่ายอักษะ
รุกรานสหภาพโซเวียต
เปิดฉาก
เขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
ฝ่ายจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งกำลัง
ทำสงครามกับจีน
มาตั้งแต่ ค.ศ.
1937
ด้วยปรารถนาจะยึดครองเอเชียทั้งหมด จึงฉวยโอกาส
โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์
และส่งทหารรุกรานหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
การรุกคืบของฝ่ายอักษะยุติลงใน ค.ศ.
1942
หลังความพ่ายแพ้ในญี่ปุ่นใน
ยุทธนาวีมิดเวย์
และหลังความพ่ายแพ้ของฝ่ายอักษะยุโรปในอียิปต์และที่
สตาลินกราด
ใน ค.ศ.
1943
จากความปราชัยของเยอรมนีที่
เคิสก์
ในยุโรปตะวันออก
การรุกรานอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตร
ตลอดจนถึงชัยชนะของสหรัฐอเมริกาในแปซิฟิกได้ทำลายการริเริ่มและส่งผลทำให้ฝ่ายอักษะล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ใน ค.ศ.
1944
ฝ่ายสัมพันธมิตร
เปิดแนวรบใหม่ในฝรั่งเศส
เช่นเดียวกับสหภาพโซเวียตที่ยึดดินแดนคืนและรุกรานเยอรมนีและพันธมิตร
สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และ
การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนี
เมื่อวันที่
8
สิงหาคม ค.ศ.
1945
แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมี
การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น
และ
การรุกรานแมนจูเรีย
จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่
2
กันยายน ค.ศ.
1945
สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก
สหประชาชาติ
ถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็น
อภิมหาอำนาจ
ของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่ง
สงครามเย็น
ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก
46
ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการ
การกำหนดการปกครองด้วยตนเอง
เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อ
เรียกร้องเอกราช
ในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น