Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม (Word Class Standard)

วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 16



องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ



องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ            
การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศอาจจำแนกออกเป็นสองระดับหลัก  
คือองค์การระหว่างประเทศระดับโลก  และระดับภูมิภาค  ซึ่งทั้งสอง
ระดับล้วนเป็นองค์การเพื่อประสานประโยชนืร่วมกันระหว่างประเทศปัจจุบัน 
 ดังนี้
 1.องค์การสหประชาชาติ(The United Nations:UN)
สถาปนาอย่างเป็นทางการ  เมื่อวันที่ 24  ตุลาคม พ.ศ. 2488 หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง  
มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงนิวยอร์กประเทศสหรัฐอเมริกา  มีประเทศเอกราชทุกภูมิภาค
เป็นสมาชิกไม่ต่ำกว่า  190 ประเทศในปัจจุบัน  
1.1  เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
1.2  เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างประชาชาติ โดยยึดการเคารพต่อหลักการ
แห่งสิทธิอันเท่าเทียมกัน
1.3  เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ  ในอันที่จะแก้ไขปัญหาระหว่าง
ประเทศทางด้าน  เศษฐกิจ  สังคม และมนุษยธรรมและการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพต่อ
สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานสำหรับทุกคน โดยไม่เลือกปฎิบัติในเรื่องเชื้อชาติ
ศาสนา  เพศ  หรือภาษา
1.4  เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานงานของประชาชาติทั้งหลายให้กลมกลืนกัน  ในอันที่จะ
บรรลุจุดหมานปลายทางร่วมกัน 
 เช่น   การรักษาสันติภาพ  ส่งเสริมประชาธิปไตย  ส่งเสริมด้านมนุษย์ชน  พัฒนาความ
สัมพันธ์ทางการค้าระดับโลก  ให้ความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา  เป็นต้น
2.สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Association  of  
Southeast  Asian  Nation:  ASEAN)หรืออาเซียน
ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2510  โดยมีสมาชิกเริ่มแรก  5 ประเทศ  คือ   ไทย อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  
ฟิลิปปินส์  และสิงคโปร์   ในปัจุบันได้สมาชิกเพิ่มได้แก่  บรูไน เวียดนาม  ลาว  และกัมพูชา
โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเร่งรัดความเจริญเติบโตทางเศษฐกิจ  ความก้าวหน้าทางสังคม 
วัฒนธรรมของภูมิภาค   ส่งเสริมสันติภาพ  และเสถียรภาพของภูมิภาคตามหลักของ
สหประชาชาติ  ส่งเสริม  ร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องผลประโยชน์ทาเศษฐกิจ
สังคม  วัฒนธรรม วิชาการ  การบริหารอย่างจริงจัง
3.เขตการค้าเสรีอาเซียน(Asean  free  trade  area: AFTA)
เขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟตา เป็นการร่วมมือทางเศษฐกิจที่ทำให้การค้าขายในกลุ่ม
อาเซียนขยายตัว เป็นความคิดริเริ่มที่มาจากอดีตนายกรัฐมนตรีไทย   คือ นายอานันท์ ปันยาชุน
ที่เสนอต่อที่ประชุมอาเซียน  ณ  ประเทศสิงคโปร์    
โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อให้การค้าภายในอาเซียนเป็นไปโดยเร็ว  อัตรภาษีต่ำที่สุด และเพื่อ
ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติสู่ภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์
การค้าโลกที่เป็นระบบเสรียิ่งขึ้น  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเศษฐกิจของไทยอย่างจริงจัง 
ระบบการค้าเสรี  เป็นลักษณะทวิภาคี  ระหว่างประเทศไทยกับประเทศในเอเชียใต้ เ
อเชียตะวันออกเฉียงใต้  ออสเตรเลีย  และนิวซีแลนด์เป็นต้น
4.ความร่วมมือทางเศษฐกิจเอเชียแปซิฟิก หรือเอเปก(Asia-pacific 
economic cooperation:APEC)
ก่อตั้งใน  พ.ศ. 2532 ตามข้อเสนอของนายบ็อบฮอร์ก  อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศออสเตรเลีย 
โดยกลุ่มเอเปกเป็นกลุ่มเศษฐกิจที่มีประชากรรวมกันมากที่สุดกว่า 2,000  ล้านคน ครอลคลุม
สามทวีป  คือ  เอเชีย อเมริกา และออสเตรเลีย มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร  
มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและของโลก  
โดยต้องการพัฒนาส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีที่อยู่บนรากฐานของการเปิดการค้าเสรี  
การลงทุน และหาทางลดอุปสรรคทางการค้า  โดยยึดหลักผลประโยชน์ร่วมกัน 
ซึ่งไทยเคยเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมในปี พ.ศ.  2546 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น